Living Fossils ผ่านมาร้อยล้านปี สัตว์เหล่านี้หน้าตาเหมือนเดิม

Living Fossils ผ่านมาร้อยล้านปี

Living Fossils คือสัตว์ที่เกิดขึ้นมาบนโลกหลายล้านปีแล้ว แต่ยังคงมีลักษณะรูปร่างแบบเดิมเอาไว้ได้ จนน่าสงสัยว่าอะไรทำให้พวกมันยังคงหน้าตาแบบเดิมเอาไว้ได้นานขนาดนี้

Living Fossils ผ่านมากี่ปีหน้าตายังเหมือนเดิม

วิวัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สิ่งมีชีวิตต่างปรับเปลี่ยนร่างกายไปเพื่อให้สามารถเอาตัวรอดได้มากขึ้นโดยกระบวนการเหล่านี้ใช้เวลานานกว่าที่มันจะเห็นผลที่แตกต่างชัดเจน เช่นวงโฮมินิดที่เกิดขึ้นเมื่อ 17 ล้านปีก่อนซึ่งมีวิวัฒาการแยกออกเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างมนุษย์ชิมแปนซีหรือกอลิล่า แต่แม้สัตว์สัตว์ต่างๆจะวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก็ยังมีสัตว์บางกลุ่มที่ร่างกายยังคงมีลักษณะเหมือนเดิมแม้เวลาจะผ่านไปสิบหรือร้อยล้านปี และมันคือตัวอะไรไปดูกัน

สัตว์ที่หน้าตาเหมือนเดิม แม้จะผ่านมาร้อยล้านปี

คำว่าลิปวิ่งฟอสซิวหมายถึงสัตว์ที่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกย้อนกลับไปหลายล้านปีและยังคงสืบทอดลูกหลานมาจนถึงปัจจุบันโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตมากนักแม้ว่าบางทีพวกมันจะอยู่มาก่อนสัตว์อื่นๆอย่างเช่นไดโนเสาร์ซะอีก แต่คำว่า Living Fossil ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด

ว่าสัตว์เหล่านั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ได้ผ่านการวิวัฒนาการใดๆเลยซึ่งความจริงแล้วพวกมันอาจมีข้อแตกต่างที่อาจมองไม่เห็นหากดูเพียงผิวเผิน ถึงอย่างนั้นการเรียกมันว่า Living Fossil ก็ช่วยให้เราเข้าใจ

ถึงเส้นทางวิวัฒนาการและความแตกต่างของสัตว์ต่างบนช่วงเวลาที่ยาวนานของโลกได้มากขึ้นเหมือนกับสัตว์ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อของสัตว์จำนวนมากมายที่ถูกเรียกว่าเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตเพราะแม้จะผ่านมาแล้วมากกว่า 100 ล้านปีพวกมันก็ยังมีหน้าตาแบบเดิม

  1. Coekacant เป็นปลาดึกดำบรรพ์ชนิดแรกๆที่พบว่าเก่าแก่ย้อนไปถึงยุค Devonian ราว 400 ล้านปีก่อนก่อนที่ไดโนเสาร์ตัวแรกจะเกิดขึ้นมามากกว่า 150 ล้านปี ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าซีลาแคนท์สูญพันธุ์ไปแล้วช่วง 65 ล้านปีก่อนพร้อมกับช่วงเวลาการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์จนกระทั่งปี 1938 กลับมีการพบปลาดึกดําบรรพ์นี้อีกครั้งนอกชายฝั่งแอฟริกาใต้ หลังจากการค้นพบนี้ก็เริ่มมีการพบฟอสซิลของมันที่อายุน้อยกว่า 65 ล้านปีมากขึ้น ซีลาแคนท์เริ่มกลายเป็นสัญลักษณ์ของ Living Fossil ความน่าทึ่งในการที่มันสามารถคงรูปร่างเอาไว้ได้นานหลายร้อยล้านปี จริงแล้วซีลาแคนท์หลักฐานในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 สปีชีส์ซึ่งทั้งสองก็แตกต่างจากซีลาแคนท์ในอดีตมากพอที่จะถูกแบ่งออกเป็นคนละสกุลกันอย่างไรก็ตามมันก็ยังมีหน้าตาโดยรวมเหมือนกับญาติรุ่นปู่ทวดของพวกมันอยู่
  2. Lungfish หรือปลาปอดพวกมันมีความแตกต่างจากปลาทั่วไปนั่นคือแทนที่มันจะมีเหงื่อสำหรับหายใจแต่มันมีอวัยวะที่คล้ายปอด หลักฐานฟอสซิลข้อของ Lungfish นั้นพบว่าพวกมันมีชีวิตอยู่ใกล้เคียงกับซีลาแคนท์ นั่นคือสามารถย้อนกลับไปได้ถึงต้นยุค Devonian ประมาณ 380 ล้านปีที่แล้ว สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 วงหนึ่ง โดยวงที่อยู่มานานที่สุดคือวงของ Australian Lungfish ซึ่งยังมีหน้าตาแบบเดิมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ล้านปี Lungfish สามารถมีขนาดใหญ่ได้ 1 ถึง 2 เมตรและหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม
  3. Lampreys หากจะพูดถึงปลาที่อยู่มานานก็จะต้องมีชื่อของ Lampreys คือปลาที่มีลำตัวเรียวยาวลักษณะคล้ายปลาไหลแต่ปากมันจะเปิดและมีฟันแหลมคมด้านในโดยมันจะอาศัยการยึดติดกับเหงือกอื่นเพื่อดูดกินเลือดเนื้อเป็นอาหารโดยที่มันมีปากแบบนี้เพราะมันวิวัฒนาการแยกสายจากบรรพบุรุษร่วมกันของสัตว์มีกระดูกสันหลังเกือบทั้งหมด
  4. horseshoe crab ไทยเรียกว่าแมงดาหรือแมงดาทะเลก็นับเป็น Living Fossil ที่มีชื่อเสียงอีกชนิดที่คนทั่วไปรู้จักมากที่สุดแม้ชื่อภาษาอังกฤษจะเรียกว่าปูเกือกม้าแต่ชื่อไทยว่าแมงดาทะเลก็มีความถูกต้องมากกว่า เพราะยาดที่ใกล้เคียงกันที่สุดคือแมลงต่างๆเช่นแมงมุมแมงป่อง แมงดาทะเลที่ยังหลงเหลืออยู่ 4 สปีชีส์มี 3 สปีชีส์ถูกจัดว่าเป็น Vulnerble หรือมีแนวโน้มใกล้การสูญพันธุ์
  5. Nautilus ชื่อไทยคือหอยงวงช้างแต่ที่จริงแล้วมันจัดอยู่ในชั้นเซ็นทรัลแอร์พอร์ตซึ่งรวมหมึกต่างๆ ออคโตปุสหรือหมึกสาย หมึกกระดองและนอติลุสนอติลุสคือผู้อยู่รอดหนึ่งเดียวของกลุ่มของหมึกที่มีเปลือกหอยขนาดใหญ่ห่อหุ้มร่างกายซึ่งเกิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ 495 ล้านปีก่อน

promlaoกับเรื่องราวในวันนี้ กับสัตว์ยุคดึกดําบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และบางส่วนก็ใก้ลที่จะสูญพันธุ์ไปแล้ว และยังมีสัตว์บางชนิดที่เป็นสัตว์ยุคดึกดําบรรพ์ที่อาศัยอยู่ในประเทยไทยของเราอีกด้วยนะครับ

ใส่ความเห็น